คนเดินเท้า

เมื่อกฎหมายญี่ปุ่น ให้ความคุ้มครอง “คนเดินเท้า” สำคัญที่สุดบนท้องถนน มากกว่าคนขับรถ

จากเหตุการณ์ รถจักรยานยนต์บิ๊กไบก์ ที่สิบตำรวจตรีนายหนึ่ง ขับชนคุณหมอที่ เดินข้ามทางม้าลาย จนได้รับเจ็บสาหัส บริเวณถนนพญาไท หน้าสถาบัน ไตภูมิราชนครินทร์ และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา จากในเหตุการณ์ รถส่วนใหญ่หยุดรถ ให้คนข้ามถนน แต่บิ๊กไบก์คันดังกล่าว กลับะพุ่งมาด้วยความเร็วสูง และไม่มีการชะลอรถแต่อย่างใด

บนท้องถนนในเมืองไทย นี่ไม่ใช่ครั้งแรกและครั้งสุดท้าย ที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งหากเรามองไป ในประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว ทางม้าลายนั้น ถือว่าค่อนข้างศักดิ์สิทธิ์ เป็นสิ่งที่ช่วยให้ คนเดินเท้าข้ามถนนอย่างปลอดภัย แต่กลับกัน ในประเทศไทยนั้น มีเพียงแค่สีที่ทาไว้บนถนน ไม่ได้มีประโยชน์อันใด ในการที่จะปกป้องคนเดินเท้า

และเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรง แบบที่กล่าวไว้ข้างต้นทีไร อย่างที่ทุกคนในประเทศรู้ๆ กัน นั้นก็คือ กล้องวงจรปิด ของจราจรหรือหน่วยงานราชการ มักจะเสียเสมอ หรืออาจจะต้องเสียเวลา ไปทำเรื่องร้องขอหลักฐาน จากกล้องหน้ารถ ของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นแทน ทั้งๆ ที่เหตุการณ์มันเกิดขึ้น บริเวณใจการเมืองหลวง ไม่ได้เกิดตามท้องไร่ ท้องนาต่างจังหวัด

คนเดินเท้า

ทางญาติผู้เสียชีวิต ที่ต้องมาประกาศหาคลิป จากกล้องหน้ารถคนอื่น แทนที่จะเป็นหน้าที่ของตำรวจในการรบรวมหลักฐาน

เหตุการณ์รถชนคนบนท้องถนนในต่างประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงอย่างมาก ไม่ว่าจะชนจนได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย สาหัส หรือเสียชีวิตก็ตาม ผู้ที่ขับขี่ยานพาหนะ จะถือว่ามีความผิดเต็มๆ โดยไม่ต้องมาสืบพยานใดๆ เพราะกฎหมายในต่างประเทศให้ความคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอที่สุดในเหตุการณ์นั้นๆ

ซึ่งถ้าเป็นกรณีรถชนคน ก็คือคนถูกชนจะได้รับความคุ้มครอง ก่อนเป็นอันดับแรก ยกตัวอย่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดที่สุด แห่งหนึ่งของโลก ในเรื่องของกฎหมายจราจร โดยประเทศญี่ปุ่นจะให้ความคุ้มครอง และดูแลคนเดินเท้าเป็นพิเศษ มีกฎหมายที่เอาผิดผู้ขับ ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น

ขัดขวางการข้ามถนนของคนเดินเท้า ขัดขวางการสัญจรของเด็กเล็ก ไม่รักษาระยะห่างจากคนเดินเท้าในระยะที่ปลอดภัย ไม่ชะลอรถ ในถนนคนเดิน ซึ่งจะใช้ระบบแต้มมาใช้ในกฎหมายจราจร โดยมีจุดประสงค์หลักคือ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของทุกฝ่าย ซึ่งระบบการลงโทษแบบหักแต้มคะแนน ความผิดเป็นสิ่งที่คนญี่ปุ่นกลัวมาก

เพราะการได้ใบขับขี่มาสักใบไม่ใช่เรื่องง่าย การสอบใบขับขี่ที่ญี่ปุ่นมีความยากที่สุดประเทศหนึ่ง และน้อยคนนักจะสอบผ่านในครั้งแรก บางคนต้องสอบ 5-6 ครั้งถึงจะได้ ฉะนั้นเขาจึงให้ความสำคัญอย่างมาก เพราะกว่าจะได้มาครอบครองมันยากพอๆ กับถูกล็อตเตอรี่ และการโดนคดีเกี่ยวกับรถมีค่าปรับยิบย่อยตั้งแต่เบาไปจนถึงหนัก ที่เรียกว่าถ้าหนักก็คือหนักจริง ทั้งโทษที่หนัก

และค่าปรับที่แสนแพง ซึ่งระบบนับแต้มคะแนนแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม คือ

1. แต้มความผิดพื้นฐานสำหรับความผิดทั่วไป
2. แต้มความผิดพื้นฐานสำหรับความผิดเฉพาะ
3. แต้มความผิดเพิ่มเติมกรณีเกิดอุบัติเหตุ
4. แต้มความผิดเพิ่มเติมกรณีชนแล้วหนีจะมีโทษ

หากแต่จอดรถใกล้กับจุดปลอดภัย ยังไม่ชนคนก็โดนหักคะแนน 2 แต้ม และปรับ 5,000-9,000 เยน (1,477-2,604 บาท) แต่ถ้าจอดทับเส้น ทับทางม้าลาย ก็มีผิดฐานขัดขวางการข้ามถนน จะมีโทษปรับหนักกว่า คือ 6,000-12,000 เยน (1,736 – 3,472 บาท)

แต่ถ้าหากขับรถ โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ชีวิต มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับเงินไม่เกิน 1 ล้านเยน (289,411 บาท) แต่ในกรณีชนแล้วหนี จะเพิ่มโทษไม่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ จำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับเงินไม่เกิน 1 ล้านเยน (289,411 บาท) และโทษไม่แจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับเงินไม่เกิน 5 หมื่นเยน (14,470 บาท)

รวมโทษแล้วจำคุก 17 ปี ปรับ 2.05 ล้านเยนหรือ (592,992 บาท)
ยิ่งพบว่าถ้าผู้ขับขี่มีอาการเมาแล้วขับขี่ด้วย โดยพิจารณาตามสภาพ ว่าไม่อยู่ในอาการที่จะควบคุมการขับขี่ได้ตามปกติ เช่น เดินเซ ตาปรือ หน้าแดงก่ำ ฯลฯ โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านเยน (289,411 บาท) หักคะแนน 35 แต้ม และเพิกถอนใบขับขี่ 3 ปี มีแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกว่า 0.15 mg ต่อลมหายใจ 1 ลิตรโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี

หรือปรับไม่เกิน 5 แสนเยน (144,705 บาท) หักคะแนน 13-25 แต้ม และยึดใบขับขี่ตั้งแต่ 90 วัน ไปจนถึงเพิกถอนใบขับขี่ 2 ปี หากเกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิต จะมีความผิดในโทษฐานขับขี่อันตราย อันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 20 ปี ซึ่งเป็นโทษที่หนักกว่าการขับขี่โดยประมาทอันเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต

ซึ่งกำหนดโทษไว้ไม่เกิน 7 ปี จริงๆ ไม่ใช่แค่ญี่ปุ่นแต่มีอีกหลายประเทศที่กฎหมายจราจรมีความเข้มงวด คุ้มครองคนเดินเท้า และผู้ขับขี่ต้องพึงระวังไม่ให้ขับไปจน ไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะบีบแตรไล่ ไม่มีสิทธิ์จะหงุดหงิดคนกำลังข้ามถนน ต่อให้เขาจะเดินช้าแค่ไหนก็ตาม เพราะกฎหมายในต่างประเทศจะเลือกคุ้มครองผู้ที่อ่อนแอที่สุดก่อน

ซึ่งก็คือคนเดินเท้าที่จะเป็นผู้เสียหายมากที่สุด ฉะนั้นการข้ามถนนในต่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่าในเมืองไทย เพราะรถจำเป็นต้องชะลอ หรือหยุดทันทีเมื่อเท้าของผู้ข้ามถนน เหยียบลงบนทางม้าลาย ต่อให้เขาจะไม่มองซ้ายหรือมองขวาก่อนเดินข้ามก็ตาม เพราะกฎหมายในต่างประเทศนั้นเอาผิดผู้ขับขี่จริงจังและรุนแรง

สำหรับประเทศไทยบทกำหนดโทษกรณีขับรถชนคนทั้งเจ็บและตายเอาไว้ดังนี้ กรณีขบรถโดยประมาท ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ แต่ไม่มีคนบาดเจ็บ โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก มาตรา 43(4)

กรณีที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับ อันตรายแก่กายหรือจิตใจ โทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 390 ประมวลกฎหมายอาญา กรณีที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส แก่กายหรือจิตใจ โทศจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 300 ประมวลกฎหมายอาญา

และกรณีขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท มาตรา 291 ประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งหากให้การเป็นประโยชน์หรือไม่เคยกระทำความผิด ศาลก็อาจจะเมตตาลดโทษลงให้อีกกึ่งหนึ่ง หรือถ้าเป็นเยาวชนก็อาจจะพิจารณาไม่มีโทษจำคุก แต่ใช้วิธีห้ามขับขี่รถจนถึงอายุที่ศาลกำหนด

เมื่อพ้นกำหนดแล้วก็สามารถขับขี่ได้ เช่นกรณีแพรวา 9 ศพ ที่ขับรถเก๋งชนรถตู้โดยสารจนตกลงมาจากทางด่วนโทลเวย์ดอนเมือง ซึ่งในเวลานั้นผู้ก่อเหตุยังเป็นแค่เยาวชน แต่ปัจจุบันเธอเป็นผู้ใหญ่เต็มตัวแล้ว แต่คดีความหลายคดีก็หมดอายุความเรียบร้อย ทำให้เธอหลุดคดีต่างๆ จนเกือบทั้งหมด และไม่ยังคงใช้ชีวิตปกติในปัจจุบัน

ขอบคุณ แหล่งที่มา : reporter-journey.com

สามารถอัพเดต ข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : pattayacentrehotel.net