คริปโตฯ หรือคริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คือ สินทรัพย์ดิจิทัลประเภทหนึ่งที่มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับสกุลเงินทั่วไป เพียงแต่ไม่สามารถจับต้องได้ ข้อมูลจาก CCData ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยระบุว่า ปริมาณการซื้อขายคริปโตฯ ทั่วโลกในไตรมาส 2/2566 ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุด

คริปโตฯ วอลลุ่มซื้อขายทั่วโลกวูบหนักสุดในรอบเกือบ 4 ปี

ข้อมูลจาก CCData ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยระบุว่า ปริมาณการซื้อขายคริปโตฯ ทั่วโลกในไตรมาส 2/2566 ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปี 2562 แม้ว่ากิจกรรมการซื้อขายพุ่งขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมิ.ย.ก็ตาม

รายงานของ CCData ระบุว่า ปริมาณการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีเพิ่มขึ้น 16.4% สู่ระดับ 5.75 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนมิ.ย. ซึ่งปรับตัวขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน แต่ปริมาณการซื้อขายโดยรวมในไตรมาส 2/2566 ลดลง 40% จากไตรมาส 1 สู่ระดับ 1.7 ล้านล้านดอลลาร์ และลดลง 62% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2565

บริษัทไบแนนซ์มีส่วนแบ่งในตลาดซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี ลดลง 1.4% สู่ระดับ 42% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงติดต่อกัน 4 เดือน โดยส่วนแบ่งตลาดของไบแนนซ์ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มคริปโทตฯ รายใหญ่ที่สุดในโลกนั้น ลดลงมากที่สุด และลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค. 2565

ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทคอยน์เบส โกลบอล ลดลง 0.08% สู่ระดับ 5.36% ซึ่งเป็นการปรับตัวลงน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทรายใหญ่ที่ให้บริการแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซี

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมคริปโตเคอร์เรนซีเผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงกรณีที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SEC) ของสหรัฐได้ยื่นฟ้องต่อศาลกรุงนิวยอร์ก เพื่อให้ดำเนินคดีกับบริษัทคอยน์เบส โดยระบุว่าคอยน์เบสได้ดำเนินธุรกิจโบรกเกอร์และแพลตฟอร์มซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลโดยไม่ได้รับอนุญาต และเรียกร้องให้ศาลมีคำสั่งให้คอยน์เบสยุติการให้บริการดังกล่าวเป็นการถาวร

นอกจากนี้ SEC ได้ยื่นฟ้องต่อศาลในกรุงวอชิงตันดีซีให้ดำเนินคดีกับบริษัทไบแนนซ์ และนายจ้าว ฉางเผิง ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของไบแนนซ์ เนื่องจากบริษัทไม่ได้ดำเนินการอย่างเหมาะสมเพื่อสกัดกั้นลูกค้าชาวสหรัฐในการเข้าใช้แพลตฟอร์ม และทำให้นักลงทุนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเฝ้าติดตามตลาด ตลอดจนการดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้จดทะเบียน นอกจากนี้ ไบแนนซ์และนายจ้าวได้เข้าควบคุมสินทรัพย์ของลูกค้าอย่างลับๆ ด้วยการโยกเงินของลูกค้า และสร้างบริษัทในสหรัฐขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำให้เกิดความซับซ้อนและหลีกเลี่ยงกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลางสหรัฐ

คริปโตเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) คืออะไร

คริปโตฯ สกุลเงินดิจิทัล คือ สินทรัพย์ดิจิทัล ประเภทหนึ่งที่มีการรักษาความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัส ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเช่นเดียวกับสกุลเงินทั่วไปเพียงแต่ไม่สามารถจับต้องได้

แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายดังเช่นสกุลเงินทั่วไป (ยกเว้นประเทศเอลซัลวาดอร์ซึ่งเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติให้บิตคอยน์สามารถใช้ชำระหนี้ตามกฎหมายได้) แต่ก็มีธุรกิจหลายแห่งเริ่มมีการนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้เพื่อปรับตัวรับโลกการเงินที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การรับชำระค่าสินค้าและบริการด้วยบิตคอยน์ หรือสกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ

ประโยชน์ของคริปโตฯ

  • ทำธุรกรรมได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด จึงมีความสะดวกและรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมภายในประเทศหรือระหว่างประเทศด้วยเทคโนโลยีเหนือกว่าธนาคารแบบดั้งเดิม
  • ต้นทุนในการทำธุรกรรมต่ำ ใครที่เคยโอนเงินระหว่างประเทศจะทราบกันดีกว่าค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมค่อนข้างสูง แต่หากทำธุรกรรมผ่านคริปโตฯ จะช่วยลดต้นทุนในส่วนของค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมไปได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับบริการทางการเงินอื่น ๆ
  • มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัว เนื่องจากทำงานอยู่บนเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “Blockchain” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ยากต่อการถอดรหัสทางคณิตศาสตร์ ทำให้สกุลเงินดิจิทัลปลอดภัยกว่าธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
  • ความโปร่งใสที่เหนือกว่า ธุรกรรมแต่ละรายการจะถูกบันทึกในบัญชีแยกประเภทโดยใช้เทคโนโลยี “Blockchain” ซึ่งไม่สามารถแก้ไข ย้อนกลับ หรือทำลายข้อมูลได้
  • ป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ ปัจจุบันเริ่มเห็นข่าวมหาเศรษฐีชาติต่าง ๆ เก็บบิตคอยน์เข้าพอร์ตเพื่อป้องกันความเสี่ยงเงินเฟ้อ เนื่องจากเชื่อว่าเหรียญที่มีอุปทานจำกัดอย่างเช่น Bitcoin สามารถนำมาเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อได้
  • เปิดซื้อขายแลกเปลี่ยน 24 ชั่วโมง เชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่น่าจะคุ้นเคยกับตลาดหุ้นที่มีวันหยุดและเวลาเปิดปิดอย่างชัดเจน แต่สำหรับตลาดคริปโตฯ นั้นมีสภาพคล่องสูงเพราะเปิดให้ซื้อขายตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีวันหยุด

หลักการทำงานของคริปโตฯ

Cryptocurrency ทำงานอยู่บนเทคโนโลยีที่ชื่อว่า “บล็อกเชน” (Blockchain) เป็นเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการเข้ารหัสคอมพิวเตอร์ โดยจะบันทึกข้อมูลลงในกล่อง (Block) และนำมาต่อกันเรื่อยๆ เหมือนสายโซ่ (Chain) ซึ่งจะไม่สามารถย้อนกลับได้ ทำให้ยากต่อการปลอมแปลง แก้ไข หรือทำลายข้อมูล

บล็อกเชนจะประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบ “กระจายศูนย์” (Distributed Ledger Technology: DLT) ที่ปราศจากการควบคุมโดยตัวกลางอย่างธนาคารหรือรัฐบาล ดังนั้น ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโตฯ จึงมีความปลอดภัย โปร่งใส และน่าเชื่อถือ

คริปโตฯ

มูลค่าของคริปโตฯ เกิดจากอะไร

เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันว่ามูลค่าของ Cryptocurrency เกิดจากอะไร เพราะถ้าเป็นหุ้นนั้นมีหลายปัจจัยมากที่กำหนดราคาหุ้น ทั้งพื้นฐานหุ้น งบการเงิน ผลประกอบการของบริษัท ฯลฯ แต่หากเป็นคริปโตฯ คงไม่มีข้อมูลเหล่านั้นให้เราดู แล้วแบบนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าราคาของ Cryptocurrency ถูกกำหนดด้วยปัจจัยอะไร?

อย่างที่ทราบกันว่า สกุลเงินดิจิทัลไม่ได้ออกโดยธนาคารกลางและไม่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ดังนั้น ปัจจัยเช่น นโยบายการเงิน อัตราเงินเฟ้อ และการเติบโตทางเศรษฐกิจจึงไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของ Cryptocurrency

สำหรับมูลค่าจะแปรผันตามอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของตลาด หลักการก็คล้าย ๆ กับ “ทองคำ” ยิ่งเหรียญนั้นมีอุปสงค์หรือความต้องการมากเพียงใด ราคาของเหรียญนั้นก็จะดีดตัวสูงขึ้น และยิ่งเป็นเหรียญที่มีอุปทานจำกัดอย่างเช่น “บิตคอยน์” ที่มีจำนวนอุปทานจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญ ก็จะยิ่งดันมูลค่าของเหรียญให้สูงยิ่งขึ้น

วิธีหาเงินจากคริปโตฯ

  • การลงทุนระยะยาว (Hodl)

สำหรับนักลงทุนระยะยาว ในวงการคริปโตฯ จะเรียกนักลงทุนสายนี้ว่า “Hodl” ย่อมาจาก “Hold on for dear life” ความหมายคือ ถือเหรียญคริปโตไปแบบยาวๆ โดยอาจจะถือเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่ขาย ไม่ว่าราคาตลาดจะเป็นเช่นไร จะผันผวนสักแค่ไหน ดังนั้น สิ่งที่นักลงทุนสายนี้ต้องคำนึงคือเทคโนโลยีของเหรียญที่เราเข้าซื้อถือว่ามีโอกาสที่จะเติบโตมากน้อยเพียงใด มีศักยภาพเติบโตได้ในระยะยาวหรือไม่

  • การเทรด (Trading)

การเทรดเป็นการทำกำไรใโดยใช้โอกาสระยะสั้นจากความผันผวนของราคาคริปโตฯ อย่างทราบกันว่าราคาเคลื่อนไหวค่อนข้างไว จึงมีนักเก็งกำไรไม่น้อยที่เข้ามาหาโอกาสทำกำไรจากตลาดคริปโตฯ ซึ่งกลยุทธ์การเทรดก็มีหลากหลายทั้งแบบ Scalping, Day Trade และ Swing Trade อย่างไรก็ตาม การที่จะเป็นสายเทรดเดอร์ได้เราต้องมีทักษะการวิเคราะห์และเทคนิคต่าง ๆ ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จและคาดการณ์ราคาเหรียญได้อย่างแม่นยำ

  • Staking

เป็นการนำเหรียญไปฝากไว้ในกระเป๋าเงินดิจิทัลที่รองรับการ Stake และล็อกมันไว้ เหรียญที่เราฝากไว้จะถูกนำไปใช้ในกระบวนการความถูกต้องของธุรกรรมบนบล็อกเชนแบบ Proof of Stake (PoS) โดยผลตอบแทนจากการ Stake จะอยู่ในรูปแบบของดอกเบี้ย ซึ่งอัตราก็จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละแพลตฟอร์ม

อย่างไรก็ตาม การ Stake มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะเวลาการปลดล็อกอยู่ ซึ่งอาจทำให้เราไม่สามารถถอนเหรียญที่เราฝากไว้ได้ทันที

ภาษีคริปโตฯ

ใครอยากลงทุนคคริปโตฯ สิ่งสำคัญที่ต้องรู้อีกหนึ่งอย่างคือ “เงินได้จากการลงทุนในคริปโตฯ ต้องเสียภาษี” ตามประกาศของกรมสรรพากร ซึ่งการลงทุนแบบไหนต้องเสียภาษีอย่างไรบ้าง เราสรุปแบบสั้น ๆ เข้าใจง่ายมาให้แล้ว

  1. กำไรจากการจำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนคริปโตฯ – เป็นเงินได้ประเภท 40(4)(ฌ) ยื่น ภ.ง.ด.90
  2. การขุดเหรียญ – ยังไม่ถือเป็นเงินได้
  3. จำหน่าย จ่าย โอน หรือแลกเปลี่ยนเหรียญที่ขุดมาได้ – เป็นเงินได้ประเภท 40(8) ยื่น ภ.ง.ด.90
  4. ได้รับคริปโตฯ เป็นเงินเดือน – เป็นเงินได้ประเภท 40(1) ยื่น ภ.ง.ด.90/91
  5. ได้รับคริปโตฯ เป็นค่าจ้าง – เป็นเงินได้ประเภท 40(2) ยื่น ภ.ง.ด.90/91
  6. ได้รับคริปโตฯ จากการให้ หรือได้เป็นรางวัล – เป็นเงินได้ประเภท 40(8) ยื่น ภ.ง.ด.90
  7. ได้รับผลตอบแทนจากการถือครองโทเคนดิจิทัล – เป็นเงินได้ประเภท 40(4)(ซ) ยื่น ภ.ง.ด.90
  8. ได้รับผลตอบแทนจากการถือครองคริปโตฯ – เป็นเงินได้ประเภท 40(8) ยื่น ภ.ง.ด.90

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  pattayacentrehotel.net

สนับสนุนโดย  ufabet369